Title: |
การศึกษาระบบโลจิสติกส์เพื่อการส่งออกยางพาราและผลไม้จากไทยไปจีน |
Categories: | งานวิจัยปี 2006 |
BookID: | 186 |
Authors: | เจริญชัย โขมพัตราภรณ์ เตือนใจ สมบูรณ์วิวัฒน์ ธนัญญา วสุศรี |
ISBN-10(13): | 98 |
Number of pages: | 0 |
Price: | |
Rating: |
![]() |
Picture: |
![]() |
ebook: | Download ebook |
Description: |
ประเทศไทยได้ดำเนินการเจรจาเพื่อจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) กับ ประเทศต่างๆ เพื่อเป็นการขยายการค้าสู่ประเทศใกล้เคียงและประเทศคู่ค้าใหม่ที่มีศักยภาพในภูมิภาคอื่นๆ ทั่ว โลก ล่าสุด ผู้นำจีนและผู้นำอาเซียน (ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกของอาเซียน) ได้ลงนามใน "ความตกลงการค้า สินค้า ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและจีน" หรือที่เรียกกันในนาม “เอฟทีเออาเซียน-จีน” ทั้งนี้รายการกลุ่มสินค้าที่ผู้ประกอบการไทยค่อนข้างพร้อมสำหรับการเปิดเสรีกับจีน ภายใต้กรอบเขตการค้าเสรี อาเซียน-จีน ได้แก่ กลุ่มยางพารา กลุ่มปิโตรเคมีและเม็ดพลาสติก กลุ่มเยื่อและ กระดาษ กลุ่มอาหาร ผักและผลไม้บางชนิด และกลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ผลกระทบแก่ไทยที่คาด ว่าจะตามมาจากการเปิดการค้าเสรีอาเซียน-จีนนี้ คือการค้าขายระหว่างไทยและจีนจะเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี ไทยควรมีการศึกษาการจัดการและโครงสร้างระบบโลจิสติกส์เพื่อรองรับโอกาสทางการค้าที่จะเพิ่มขึ้นนี้ด้วย บทความนี้นำเสนอการศึกษาการจัดการและโครงสร้างโลจิสติกส์ในโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ยางพาราและผลไม้ของไทยไปยังจีน ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การแปรรูปและ/หรือการบรรจุสินค้า จนกระทั่ง ลำเลียงขนส่งไปถึงท่าเรือส่งออก การศึกษานี้ไม่รวมระบบโลจิสติกส์ของการค้าผ่านแดน (Border Trade) โดยใช้ ยางพาราและผลไม้เป็นกรณีศึกษา เพื่อแสดงโครงสร้างระบบโลจิสติกส์ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยเริ่มจากสวน ผ่านเส้นทางการไหลภายในประเทศไทย ประตูทางออกจากไทย ถึงประตูทางเข้าของจีน และ ได้แสดงกิจกรรมโลจิสติกส์ รูปแบบการขนส่งของสินค้าทั้งสองในเส้นทางการขนส่งที่เป็นอยู่ และประเด็น สำคัญๆ ในเชิงโลจิสติกส์ |